หมวกเซฟตี้ TANIZAWA
A: ในเซ็ทหมวก ประกอบด้วย สายรัดคาง รองใน ประกอบมาให้ในตัวหมวกฯเรียบร้อยพร้อมใช้งานทันที ท่านไม่ต้องซื้อเพิ่ม
A: หมวกทุกรุ่นของTANIZAWA มีอะไหล่จำหน่ายทั้งหมด โดยจะเป็นอะไหล่ที่สามารถถอดประกอบเองได้ ไม่ว่าจะเป็น รองใน (suspension) โฟมLiner สายรัดคาง สายรัดหู หมุด (rivet) แผ่นกระบังหน้า (ของหมวกที่มีกระบังหน้า) โดยท่านสามารถสอบถามจากพนักงานPSR และแจ้งรุ่นของหมวก เพื่อให้ทราบถึงอะไหล่ที่ถูกต้องตรงตามรุ่นที่ใช้งาน
A: ไฟเบอร์กลาส FRP กับ ABS จะเป็นคนละวัสดุกัน
- รุ่นที่วัสดุเป็นไฟเบอร์กลาส หรือ FRP มีความทนทาน ทนแดด ทนต่อสภาพอากาศ เปลือกหมวกสามารถใช้งานได้นาน 5 ปี แต่จะไม่เหมาะกับงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้า(เพราะมีรูสำหรับใส่หมุด เนื่องจากอากาศ=นำไฟฟ้าได้)
- รุ่นที่เป็นพลาสติกABSคุณภาพดี สำหรับใช้งานทั่วไป เปลือกหมวกอยู่ได้ยาวนาน 3ปี สามารถใช้กับงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าได้
A: สำหรับรุ่น มีโฟม/ไลเนอร์ จะเป็นมาตรฐานเพิ่มเติมจากกรณีปกติ คือ ป้องกันในกรณีลื่นล้มศีรษะกระแทกพื้น (Protection at the time of fall)
ปกติมาตรฐานทั่วไป จะรองรับแค่กรณีfly falling object คือของหล่นใส่ศีรษะ แต่มาตรฐานญี่ปุ่นจะมีเพิ่มเติม คือ กรณีลื่นล้มศีรษะกระแทกพื้น, protection at the time of fall ซึ่งต้องมีโฟมไลเนอร์
ในกรณีที่ใช้งานในโรงงานญี่ปุ่นต่างๆ เช่น โตโยต้า หรือไซต์งานก่อสร้าง หรือทำงานบนที่สูงเกินกว่า 3เมตร แนะนำให้ใช้แบบที่มีโฟมไลเนอร์กันกระแทก
หมุดพลาสติกของมวกที่ไฟเบอร์กลาส FRP จำเป็นต้องมีเพื่อเอาไว้ยึดเกี่ยวรองในหมวก (Suspension ซึ่งมีลักษณะเป็นก้านพลาสติกสีเทา)
เพราะหมวกไฟเบอร์ฯไม่ว่าจะเป็นรุ่น ST# 118, 109 ฯลฯ ใช้วิธีการหล่อ แล้วเอามาเจาะรู ไม่สามารถทำหมุดในตัวเหมือนการฉีดพลาสติกจากเครื่องจักรที่ใช้ทำหมวกที่ทำจากพลาสติกได้
แนวทางเบื้องต้นในการใช้งานหมวกนิรภัยTANIZAWA
“อายุการใช้งาน นับตั้งแต่วันแรกในการนำหมวกออกมาใช้งาน ไม่ได้นับจากวันผลิตหมวก”
- เปลือกหมวก
- วัสดุ FRP อายุการใช้งาน 5 ปี
- วัสดุพลาสติก ABS, PC, PE อายุการใช้งาน 3 ปี
- อะไหล่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โฟมไลเนอร์, รองใน, สายรัดคาง อายุการใช้งาน 1 ปี
วัสดุของเปลือกหมวกTANIZAWA ถูกออกแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
- ABS เปลือกหมวกมีความยืดหยุ่นเหมาะกับการใช้งานทั่วไป ทั้งในที่ร่ม และกลางแจ้ง
- PC เปลือกหมวกจะมีความแข็งแรง ทนแรงกระแทกได้ดี และทนต่อสภาพอากาศมากกว่าABS
- PE เปลือกหมวกสามารถทนต่อสารเคมี เหมาะกับการใช้งานผสมสารเคมี งานที่เจอน้ำมันเครื่องต่างๆ
- FRP เปลือกหมวกสามารถทนต่อความร้อนและสภาพอากาศได้อย่างดี เหมาะกับการใช้งงานหน้าเตาหลอมโลหะ งานก่อสร้าง กลางแจ้ง ทนแดด ทนฝน
A: หมวกนิรภัย TANIZAWA ที่ไม่มีรูระบายอากาศ และมีเอกสารทดสอบ/สติ้กเกอร์รับรอง สามารถทนแรงดันกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 7,000 โวลต์ (โดยทดสอบที่ 20,000โวลต์)
*คำเตือน* หมวกนิรภัย TANIZAWA ที่ผลิตด้วยวัสดุไฟเบอร์กลาส FRPหรือรุ่นที่มีรูระบายอากาศทุกรุ่น จะไม่สามารถป้องกันแรงดันกระแสไฟฟ้าได้ เพราะแรงดันกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านอากาศ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าเข้าไปในศีรษะของผู้ใช้งานได้
A: ไม่สามารถนำอะไหล่ของTANIZAWAสวมใส่ หรือดัดแปลงใส่กับหมวกนิรภัยยี่ห้ออื่นๆ อย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตราย เนื่องจากหมวกนิรภัยแต่ละรุ่น และแต่ละยี่ห้อ ได้ผ่านการทดสอบเรื่องรับแรงกระแทกตามมาตราฐาน ด้วยส่วนประกอบ/อะไหล่ชิ้นส่วนของยี่ห้อ/รุ่นใด ยี่ห้อ/รุ่นนั้น ดังนั้นจึงไม่ควรนำอุปกรณ์หรืออะไหล่ ของหมวกคนละรุ่นหรือคนละยี่ห้อ มาใส่ปะปนกัน เพราะอาจจะทำให้คุณสมบัติการป้องกันที่แท้จริงผิดเพี้ยนไปได้
A: หมวก TANIZAWA จะไม่มีมอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรมไทย) และไม่สามารถขอได้ เนื่องจากหมวกผลิตที่ญี่ปุ่นทั้งใบ (100% Made in Japan) โรงงานและผลิตภัณฑ์จึงเป็นมาตรฐานญี่ปุ่น ทั้งหมด
ทั้งนี้หมวกTANIZAWAสามารถใช้งานได้ตามกฎกระทรวงฯของประเทศไทย อ้างอิง ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ซึ่งหมวกTANIZAWA ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น สามารถใช้งานได้ตามกฎฯ
A: สินค้าของTANIZAWA จะไม่มีมอก. เนื่องจากหมวกผลิตที่ญี่ปุ่นทั้งใบ100% made in Japan โรงงานและผลิตภัณฑ์จึงเป็นมาตรฐานญี่ปุ่นเท่านั้น (มอก. จะสามารถมีได้ ถ้าผลิตในไทย จึงไม่สามารถมีได้เพราะโรงงานอยู่ที่ญี่ปุ่น)
โดยมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจะเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (JIS) และมาตรฐานตามกระทรวงแรงงานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎกระทรวงฯของประเทศไทย อ้างอิง ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554
A: สติ้กเกอร์บนหมวกTANIZAWA เป็นสติ้กเกอร์แสดงถึงการผ่านมาตรฐาน และมีวันที่ที่ได้รับรองมาตรฐาน รวมทั้งวันที่ผลิต ชนิดของวัสดุ ชื่อรุ่นระบุอยู่
นอกจากนี้ สติ้กเกอร์ ยังระบุคุณสมบัติการป้องกันของหมวกนั้นๆ ว่าผ่านการทดสอบป้องกันอะไรบ้าง
A: หมวกของทางTANIZAWA ผ่านมาตรฐานการทดสอบหลักจากมาตรฐากระทรวงแรงงานของประเทศญี่ปุ่น (Japanese Government standard: JG) นอกจากนี้บางรุ่นได้ทั้งสองมาตรฐานคือ JG และ มาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น(JIS)โดยสามารถดูรายละเอียด เลขที่เอกสารรับรอง, วันที่ผลิต, มาตรฐานการป้องกันได้จากฉลากที่ติดที่หมวกฯ ดังนี้
A: รุ่นAirLight ปรับปรุงให้รองในมีคุณสมบัติรองรับแรงกระแทกกรณีล้มศีรษะกระแทกพื้น(ล้มหัวฟาด) เหมือนรุ่นที่มีโฟมกันกระแทก ด้วยการผสานการป้องกันในรองในชนิดนี้ ทำให้รองใน Type J ตอบโจทย์การใช้งานในแง่ของความสบายในการสวมใส่ และการทำความสะอาดที่ง่ายขึ้น
เนื่องจากที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีมาตรฐานเพิ่มเติม เรียกว่า Protection at time of Fall คือ การรับแรงกระแทกกรณีล้มหัวฟาดพื้น (Shock/Impact absorption) โดยจะทำการทดสอบจากหุ่นน้ำหนักเท่าผู้ชาย ประมาณ 80kg ล้มหงายหลัง ที่ระดับ 1เมตร ซึ่งแรงกระแทกสู่ศีรษะจะต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้สวมใส่ปลอดภัยจากการล้มหมดสติ/สมองกระทบกระเทือนอย่างแรง
A: หมวกของทางTANIZAWA มีสีสันมากมายให้เลือก แต่ถ้าหากลูกค้าต้องการสีพิเศษ (สัญลักษณ์เป็น สามเหลี่ยม ในแคตาลอค) จะต้องสั่งซื้อจำนวนขั้นต่ำที่ 200 ใบ
A: หมวกของทางTANIZAWA มีขนาดมาตรฐาน ที่รองรับขนาดรอบศีรษะ 53 – 62 cm (รองในรุ่นมาตรฐาน EPA3,EPA4)
นอกจากนี้ ทางผู้ผลิตนั้นมีหมวกรุ่นพิเศษ สำหรับผู้หญิง/ผู้ที่ศีรษะเล็ก อยู่ที่ 47 – 57 cm (Sakura type* EPA-S)
และยังมีหมวกรุ่นพิเศษสำหรับผู้ที่ศีรษะใหญ่ อยู่ที่ 56 – 65 cm (EPA-L )ซึ่งจะมีดีไซน์ที่ค่อนข้างจำกัด โปรดสอบถามพนักงานขายสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
หน้ากาก STS หรือ SHIGEMATSU
- ตลับกรองสารเคมี: โดยเฉลี่ยแล้ว ตลับกรองสารเคมีรุ่นต่างๆ สามารถใช้งานได้นาน 100-500นาที ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและชนิดของสารเคมี โดยด้านหน้าซองบรรจุจะมีguideline เบื้องต้น เป็น%ความเข้มข้นในพื้นที่การทำงาน และระยะเวลา ยิ่งสารเคมีในบรรยากาศมีความเข้มข้นสูง ระยะเวลาการใช้งานตลับกรองก็ยิ่งลดลง
- ตลับกรองฝุ่น : สามารถใช้ได้โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 10ชั่วโมง ถึงรายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในกรณีที่ใช้งานในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองค่อนข้างมาก อายุการใช้งานตลับกรองจะยิ่งลดลง
ในพื้นที่ทำงาน เราแนะนำให้ท่านทำการจดบันทึกสถิติ เพื่อให้ทราบถึงระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเปลี่ยนตลับกรองแต่ละชนิด
- ตลับกรองสารเคมี: เมื่อผู้ใช้งานสวมหน้ากากพร้อมตลับกรองแล้วสูดหายใจ เริ่มรู้สึกถึงกลิ่นสารเคมี ให้เปลี่ยนตลับกรองทันที
- ตลับกรองฝุ่น : เมื่อผู้ใช้งานสวมหน้ากากพร้อมตลับกรองแล้วสูดหายใจ เริ่มรู้สึกหายใจอึดอัด ให้เปลี่ยนตลับกรองทันที (สำหรับรุ่นที่ใช้แล้วทิ้ง) หรือ นำตลับกรองไปชำระล้าง (สำหรับรุ่นที่ล้างฝุ่นละอองออกได้)
A: ในประเทศญี่ปุ่น หน้ากากท่อเดี่ยวถูกพัฒนาขึ้นมาและเป็นที่นิยม เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด และใช้ตลับกรองไม่สิ้นเปลือง (ใช้ทีละชิ้น) นอกจากนี้หน้ากากกรอง
เดี่ยวนั้นทำให้ความน่าจะเป็นของเสี่ยงในการเกิดการรั่วของสารฯ/ละอองเข้าผู้ใช้งานเวลาสูดหายใจน้อยกว่าแบบท่อคู่ (เพราะท่อคู่คือมีความเสี่ยงจากด้านใดด้านหนึ่ง)
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้หน้ากากได้ทั้งสองประเภท ขึ้นอยู่กับความถนัดและการใช้งาน โดยแบบกรองคู่จะทำให้สามารถหายใจได้สะดวกกว่า และแรงดันในตัวหน้ากากต่ำกว่าแบบกรองเดี่ยวในขณะใช้งาน
A: สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าคุณภาพและประสิทธิภาพในการป้องกันของตัวหน้ากากและตลับกรองคือ “การสวมใส่ที่ถูกวิธี” และ Fit checking
ต่อให้ท่านมีหน้ากากที่มีสรรพคุณกันได้ 99% หรือ ตลับกรองชั้นเลิศ แต่สวมใส่ผิดวิธี และมีการรั่วไหลเมื่อทำงาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาและอันตรายตามมากับผู้ใช้งาน
ดังนั้น การสวมใส่หน้ากากที่ถูกต้อง และการทำFit checking ทุกครั้งจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
A: อะไหล่ของหน้ากากที่เสื่อมสภาพและสามารถถอดเปลี่ยนได้ ไม่ว่าจะเป็น สายรัด, วาล์วหายใจ นั้นมีจำหน่ายตามแต่ละรุ่น
A: หน้ากากของ SHIGEMATSU มีรุ่นที่สามารถใช้ตลับกรองฝุ่นและกรองสารเคมีควบคู่กันไปได้ โดยสามารถใส่หน้ากากพร้อมตลับกรองทั้งสองแบบคู่กัน ทำงานในสภาพที่มีทั้งฝุ่นละอองและสารเคมีได้
A: N95-NIOSH ถือเป็นมาตรฐานของอเมริกา ใช้รับรองหน้ากากกรองอนุภาคที่สามารถกรอง particles ระดับ 0.3 micron (airborne particles) ได้ 95%
- KN95 อันนี้เป็นมาตรฐานจีน กรอง particles ระดับ 0.3 micron ได้ 95% ประสิทธิภาพทัดเทียม N95 พวกนี้จะมีพิมพ์ number GB 2626-xxxx ที่หน้ากาก
- FFP2 อันนี้เป็นมาตรฐานยุโรป กรอง particles ระดับ 0.3 micron ได้ 94% ในทางปฏิบัติถือว่าประสิทธิภาพทัดเทียม N95 พวกนี้จะมีพิมพ์ number EN 149-xxxx ที่หน้ากาก
- KF94 อันนี้เป็นมาตรฐานเกาหลี เค้าอิงจากระบบ FFP ของยุโรป กรอง particles ระดับ 0.3 micron ได้ 94% ทัดเทียม FFP2
- DS2,RL2 อันนี้เป็นมาตรฐานญี่ปุ่น กรอง particles ระดับ 0.3 micron ได้ 95% ทัดเทียม N95
- P2 อันนี้เป็นมาตรฐานทวีปออสเตรเลีย กรอง particles ระดับ 0.3 micron ได้ 94% ในทางปฏิบัติถือว่าประสิทธิภาพทัดเทียม N95
ไฟฉาย ไฟคาดศีรษะ TANTO
A: คลิปล็อคติดหมวก (Helmet clips)ไม่ได้มีแถมมาในแพ็คเกจ ท่านสามารถซื้อเพิ่มเติมได้
โดยทางPSR และ แบรนด์ TANTO มีคลิป รุ่น CL-020 ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชิ้น สามารถติดกับหมวกนิรภัย/หมวกเซฟตี้ได้ทุกแบบ
A: รุ่นไฮบริด เป็นไฟฉายที่รองรับการใช้พลังงานจากทั้ง
1)ถ่านลิเธี่ยมฯ (Lithium battery) ซึ่งโดยปกติไฟฉายของ TANTO จะมีมาพร้อมใช้งาน โดยแบตเตอรี่ลิเธี่ยม สามารถรีชาร์จไฟได้ ผ่านสายUSB
2) ถ่านอัลคาไลน์ หรือถ่านรีชาร์จ ที่มีกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 1.5V/ก้อน (มักจะไม่ได้แถมมากับสินค้าTANTO)
โดยปกติถ้าเป็นสินค้าที่เป็นรุ่นไฮบริด ทางTANTO จะแถมมาเพียงถ่านลิเธี่ยมรีชาร์จในข้อ1 เท่านั้น
A: สินค้าไฟของTANTO มีการรับประกันจากทางPSR 6 เดือน นับจากวันที่ส่งสินค้า หรือตามที่ระบุไว้บนสติ้กเกอร์รับประกัน โดยท่านสามารถทำเรื่องเคลมสินค้าและส่งสินค้าให้ทางบริษัทฯตรวจสอบเบื้องต้นก่อน ว่าเกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและตัวสินค้า โดยไม่ใช่เกิดจากการใช้งานผิดประเภทหรือเกิดจากปัจเจกบุคคล
หากท่านต้องการลงทะเบียนรับประกันเพิ่มเติม สามารถทำได้ที่ www.tantolight.com
A: เมื่อใช้งานไฟฉายต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นปกติที่จะเกิดความร้อนขึ้น เนื่องจากมีการจ่ายพลังงานต่อเนื่อง หากเกิดความร้อนสูงมากๆ แนะนำให้ผู้ใช้งานปิดไฟเพื่อให้ความร้อนระบายออกก่อน อย่างไรก็ตาม ไฟฉายยี่ห้อ TANTO จะมีวงจรตัดไฟอัตโนมัติ ในกรณีที่เกิดความร้อนสูงเกินไป เพื่อป้องกันอันตรายกับผู้ใช้งาน
A: ไฟฉายTANTO มีRecahrgeable Battery อยู่ในแพ็คเกจ พร้อมใช้งาน
นอกจากนี้ทางบริษัทฯ มีแบตเตอรี่สำรองตามแต่รุ่นของไฟฉาย TANTO จำหน่าย
สำหรับ แบตฯ 18650 ของTANTO นั้นจะเป็นแบบพิเศษ คือ มีวงจร และเป็นแบบขั้ว +/- ด้านเดียวกัน จึงอาจจะหาซื้อค่อนข้างยากตามท้องตลาดทั่วไป
A: เนื่องจากทางเจ้าของแบรนด์ TANTO พบว่าไฟฉายคาดศีรษะสีแดง รุ่น NC-201R ผู้ใช้งานมักจะเกิดปัญหา เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ทางฝ่ายวิจัยและพัฒนาสินค้า จึงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสีของตัวบอดี้ไฟฉาย ให้เหมาะสม และใช้งานได้เสถียรมากขึ้น ดังนั้นจึงยกเลิกการทำสีแดง และเปลี่ยนเป็นสีเช่นในปัจจุบัน
กาวอุตสาหกรรม กาวปะติด กาวยูวี LOXEAL
โดยปกติสินค้ากาวLOXEAL จำเป็นต้องเก็บในที่แห้งและเย็น แนะนำให้เก็บในที่ๆอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา หรือทางที่ดี เก็บในตู้เย็นจะดีที่สุด (ห้ามแช่แข็ง)
สินค้าที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานมีShelf-life 6เดือน-1ปี
A: กาว LOXEAL เบอร์ 55-03 สามารถใช้ล็อคเกลียวและซีลเกลียวได้ในหลอดเดียว มีแรงยึดติดระดับปานกลาง
* เหมาะกับงานซีลเกลียว : เช่น เครื่อง CNC ,ปั๊ม , วาล์ว , LPG , ชุดแก๊ส CNG ,เครื่องทำความเย็น
* เหมาะกับงานล็อคเกลียว : ล็อคน็อต ขนาดไม่เกิน M36
A: กาวLOXEALเมื่อเราเปิดใช้งานแล้ว ให้ท่านปิดฝาให้สนิท และเก็บในที่แห้งและเย็น จะสามารถใช้งานกาวได้ต่อเนื่อง 6เดือน – 1 ปี
วิธีการเก็บกาวLOXEAL
- ตั้งหลอดกาวขึ้น ให้กาวไหลลงจากบริเวณปากหลอด ไล่ฟองอากาศออก
- เช็ดคราบกาวที่เลอะบริเวณปากหลอด ด้วยกระดาษทิชชู จากนั้นปิดฝาให้สนิท
- นำกาวใส่ไว้ในถุงซิปหรือถุงพลาสติกโดยปิดถุงให้สนิท
- เก็บในตู้เย็น ที่ช่องธรรมดา ( อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส)
A: กาวยูวี จะต้องใช้ปะติดกับ แก้ว,กระจก, พลาสติก หรือ อะคลิลิค ที่มีความโปร่งใส โดยจำเป็นมาก ที่ด้านใดด้านหนึ่งต้อง”โปร่งใส”เสมอ
เนื่องจากการสร้างพันธะเซ็ทตัวของกาวยูวีจะกระทำผ่านคลื่นรังสี UV ที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ 360-410 นาโนเมตร จึงจำเป็นอย่างมากที่แสงยูวีจะต้องส่องผ่านวัสดุเพื่อไปยังตัวกาว
A: การปะติดวัสดุที่ปะติดยาก สามารถใช้การเตรียมพื้นผิวโดยการทาน้ำยาเตรียมผิว หรือ Primer ลงบนผิวที่จะยึดติด เพื่อช่วยให้เกิดปฏิกิริยาได้ดียิ่งขึ้น
น้ำยาเตรียมพื้นผิวของ LOXEAL เรียกว่า Activatore / Primer แตกต่างกันออกไป มีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของกาวที่ใช้งาน
A: * สีม่วง : Loxeal 24-18 สีม่วงนี้แรงยึดต่ำสุด ถ้าใครเคยใช้จะรู้ว่าเอาไว้ใช้กับน็อตที่เราขันเข้า-ออก บ่อยๆ เช่น น๊อตชุดสี เป็นต้น
* สีน้ำเงิน : Loxeal 55-03 สีฟ้า/น้ำเงินนี้ แรงยึดระดับปานกลาง เหมาะกับน๊อตจานเบรค, น๊อตสเตอหลัง
* สีแดง : Loxeal 55-04/ 83-55/ 86-72 สีแดงแรงฤทธิ์ แรงยึดระดับสูง เราเอาไว้ใช้ในจุดที่เราอยากยึดให้อยู่แบบแน่นๆจริงๆ แบบว่าล็อคตาย ล็อคถาวร เหมาะกับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เพราะกันการคลายตัวจากน้ำมัน
* สีเขียว :Loxeal 83-54 สีเขียวนี้ แรงยึดระดับปานกลาง-สูง เหมาะกับการยึดติดกับตลับลูกปืน เพื่อยึดให้มันอยู่ในบ่า
วิธีใช้งานเพียงแค่หยอดลงที่เกลียวน๊อตตัวผู้ประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวเกลียวแล้วไขอัดเข้าไปตามแรงปอนด์ ทิ้งไว้ 10-20 นาที ก็พร้อมใช้งานทั่วไปได้ อย่างไรก็ตามกาวจะเซ็ทตัวเต็มที่ควรจะทิ้งไว้ อย่างต่ำ 3 ชั่วโมง เพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ
คำถามทั่วไป
A: สีของหมวกแต่ละสี ไม่ได้ถูกบังคับ หรือมีข้อกำหนดบ่งบอกว่าเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
อย่างไรก็ตาม เราสามารถแยกสีตามการใช้งานเป็นแนวทางได้ดังนี้
- สีขาว ผู้จัดการ วิศวกร หัวหน้างาน
- สีเหลือง พนักงานทั่วไป พนักงานก่อสร้าง
- สีเขียว เจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัย
- สีน้ำเงิน ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อมบำรุง
- สีแดง พนักงานดับเพลิง พนักงานจัดการสภาวะการณ์ฉุกเฉิน
A:
- Impact absorption test: การรับแรงกระแทกจากวัตถุ 5กิโลกรัม ตกจากที่สูง1เมตร แรงกระแทกที่เข้าสู่ศีรษะจะต้องน้อยกว่า4.9kN
- Penetration test: การทนทานต่อการเจาะทะลุ โดยตัวเปลือกหมวกจะต้องไม่ทำให้ตัวแท่นเจาะขนาด 3กิโลกรัม ที่ตกจากที่สูง1เมตร เจาะทะลุเข้าสู่ศีรษะได้
- Electrical Insulation: การทนต่อกระแสไฟฟ้า*(Testเฉพาะหมวกที่ไม่มีรู ไม่มีหมุด(Rivet)เท่านั้น) โดยทดสอบที่ไฟฟ้าสูงถึง 20,000V เป็นเวลา1 นาที กระแสไฟฟ้าจะต้องไม่ทะลุเข้า โดยมาตรฐานญี่ปุ่นปกติจะถือว่าต้องทนต่อไฟฟ้า 7,000V ก็เพียงพอ
A: เนื่องจาก NIOSH N95 เป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ ดังนั้นหน้ากากที่มี N95 ควรจะเป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานตามนั้นจริง แต่เนื่องด้วยปัจจุบัน มีสินค้าเลียนแบบที่ระบุ N95 ที่หน้ากากเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางทีไม่ได้ใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน หรือผ่านการทดสอบใดๆเลย ดังนั้นการระบุ N95 บนหน้ากากเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่หน้ากากที่ผ่านมาตรฐานก็เป็นได้ โดยทาง NIOSH ได้มีการกำหนดเพิ่มเติม
โดยหน้ากากที่ได้รับการรับรอง ต้องระบุหมายเลข ใบอนุญาตลงไปบนหน้ากากด้วย โดยจะขึ้นต้นด้วย TC และตามด้วย 84A สำหรับหน้ากากแผ่นกรอง